สมัยลพบุรีหรือสมัยขอม



ซากโบราณสถานและโบราณวัตถุซึ่งมีแท่งหินหรือเสาหินตลอดจนเสมาหิน และซากเมืองโบราณที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอมีรูปกลม หรือสี่เหลี่ยมกลมมีคูน้ำล้อมรอบหลายชั้น นักโบราณคดีเชื่อว่ามีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งอยู่ในยุคทวาราวดี
ในอาณาบริเวณจังหวัดขอนแก่นยังมีซากโบราณวัตถุ และโบราณสถานซึ่งมีลักษณะแตกต่างออกไป เช่น ซากเมืองโบราณที่มีรูปร่างสม่ำเสมอ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบ้าง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบ้าง มีคูน้ำชั้นเดียว มีศาสนสถานและสระน้ำศักดิ์สิทธิ์กรุด้วยศิลาแลงเป็นชั้น คติการสร้างศาสนสถานมีความผูกพันกับคติเทวราชาและการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน คือถือว่ากษัตริย์หรือเจ้านายเป็นส่วนหนึ่ง หรือภาคหนึ่งของเทพเจ้า จึงมีการสร้างเทวาลัยถวายเป็นที่สถิต ดังนั้นเทวาลัยจึงมีลักษณะที่เป็นทั้งตัวแทนของเทพเจ้า และกษัตริย์หรือเจ้านายที่ปกครองชุมชนเขตนั้น
โดยเฉพาะปราสาทศิลาแลง ซึ่งมีผังประกอบด้วยองค์ปราสาทหรือปรางค์เพียงองค์เดียวอยู่ตรงกลางมีวิหารเล็ก ตั้งอยู่ข้าง ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ มีกำแพงล้อมรอบที่กำแพงมีซุ้มประตูเข้าทางด้านตะวันออก ร่องรอยของศาสนสถานและโบราณสถานแบบดังกล่าวนี้เป็นศิลปกรในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ขอมมีอำนาจปกครองถึงดินแดนจังหวัดขอนแก่นดังปรากฏโบราณสถาน และโบราณวัตถุต่อไปนี้
บริเวณเมืองแอม หรือเมืองเพ็งโบราณดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้น สันนิษฐานว่าพวกขอมมาสร้างทับเมืองเก่าเพราะปรากฏว่ามีคันดิน (คล้ายกำแพงดินที่ละลายลงมา) มีความสูงพอสมควรและยาวเป็นเส้นตรงเป็นระเบียบแบบแผน แต่ละด้านยาว - กม. เมื่อประมาณปี ๒๕๐๐ มีผู้นำเอาพระพุทธรูปหินแบบนาคปรกหลายองค์จากดงเมืองแอมมาไว้ที่วัดท่าน้ำพอง อำเภอน้ำพอง ทั้งองค์ใหญ่องค์เล็ก มีพุทธลักษณะเป็นศิลปะสวยงามมาก พระพุทธรูปหินนาคปรกนี้เป็นศิลปะขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่
นอกจากนี้ยังได้พบพระพุทธรูปหินแบบนาคปรกอีกหลายแห่งในจังหวัดขอนแก่นโดยเฉพาะที่กรุในหมู่บ้านใกล้ที่ตั้งอำเภอภูเวียง พบหลายองค์มีความประณีตสวยงามมากจนกระทั่งเคยนำเอาไปแสดงที่มาเลเซีย แต่ภายหลังถูกขโมย และบางองค์ถูกบั่นพระเศียรอย่างน่าอนาถมาก
กู่ทอง ตั้งอยู่บ้านหัวขัว กิ่งอำเภอเปือยน้อย ห่างจากอำเภอบ้านไผ่ประมาณ ๓๒ กม. เป็นกู่ใหญ่และสวยงามที่สุดในจังหวัดขอนแก่น ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบมีรูปหัวสิงห์แกะสลักด้วยหิน รูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ สลักนูนลวดลายประณีตมาก เป็นแท่งหินทับหลังประตู ขนาดใหญ่ กว้าง . ยาว . เคยถูกขโมยแต่ในที่สุดผู้ร้ายเอาไปไม่ได้ต้องทิ้งกลางทาง กู่นี้ถูกรื้อทำลายโดยพวกแสวงหาทรัพย์ตามลายแทง เที่ยวขุดค้นของมีค่าเมื่อเกือบร้อยปีมานี้ แต่ก็ยังมีสภาพที่สมบูรณ์กว่าทุกแห่งในจังหวัดขอนแก่น
กู่บ้านเหล่า ตำบลบ้านโต้น กิ่งอำเภอพระยืน มีลักษณะเหมือนกู่ทองแต่ย่อมกว่า มีกำแพงหิน กว้าง ๑๕ วา ยาว ๑๕ วา
กู่บ้านนาคำน้อย ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง เป็นแบบกู่ทั่วไปซึ่งก่อด้วยศิลาแลง ยังมีความสมบูรณ์อยู่มาก แต่ขนาดย่อมกว่ากู่ทอง
ทุก กู่จะมีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์กรุด้วยศิลาแลงเป็นชั้น โดยเฉพาะกู่บ้านนาคำน้อยบริเวณใกล้เคียงมีบ่อน้ำซับระดับน้ำอยู่ตื้นมากมีน้ำใสจืดสนิท
นอกจากนี้ก็มีกู่เล็กกู่น้อยอีกหลายแห่ง เช่น กู่ที่บ้านโนนกู่ ตำบลสาวะถี อำเภอบ้านฝาง กู่ตำบลกุดเค้า กู่ภูวดี อยู่ในบริเวณภูวัด ตำบลโพนเพ็ก อำเภอมัญจาคีรี


คำว่าเมืองแอมนั้นเป็นชื่อที่ใช้เรียกในปัจจุบันนี้ เพราะเวลาชาวบ้านเข้าไปในบริเวณเมืองร้างแห่งนี้มีเสียงเล่าลือว่า มักจะได้ยินเสียงกระไอ-กระแอม บ่อย คือเสียงแอม ๆๆๆ จึงเรียกว่าเมืองแอม เมืองโบราณแห่งนี้แต่เดิมมีชื่อว่าเมืองเพ็ง (เพ็งเพ็ญ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น