สมัยทวาราวดี




บริเวณบ้านโนนเมือง และวัดป่าพระนอน ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ เป็นที่ดอนสูงกว้างใหญ่ซึ่งแวดล้อมด้วยที่ลุ่ม หนอง บึง ลักษณะเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ กว้าง และยาวมากอยู่ทางทิศเหนือ ลักษณะเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ มีโคกเนินที่เป็นโบราณสถาน มีเศษอิฐและกระเบื้องอยู่บนผิวดินทั่วไป และรูปสี่เหลี่ยมแบน ที่ฐานมีลวดลายในลักษณะต่าง แต่ที่น่าสนใจก็คือ เป็นจำนวนมากมีรอยสลักเป็นรูปกลีบบัวกลีบเดียวหรือสองกลีบ
แท่งหินสำคัญที่สุดชาวบ้านเรียกว่าเสาหลักเมือง เป็นรูปทรงกลม มีรอยจารึกซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวอักษรมอญโบราณ ยังไม่มีการถอดเป็นภาษาปัจจุบัน
มีผู้เคลื่อนย้ายแท่งหินในเมืองโบราณแห่งนี้ไปไว้หลายแห่ง เช่น นำเอาไปทำเป็นหลักเมืองขอนแก่น หลักหินแท่งนี้มีขนาดกว้างด้านละ ๔๒ ซม. สูง .๓๔ . มีรูปกลีบบัวสี่กลีบที่ฐาน มีผู้นำใบเสมาแท่งหินไปไว้ยังวัดต่าง หลายแห่ง เช่น วัดโพธิธาติ ตำบลชุมแพ เป็นแบบแผ่นหินขนาดหนา ๒๒ ซม. กว้าง ๔๘ ซม. สูง ๗๘ ซม. แกะสลักเป็นรูปกลีบบัวที่ฐานนำไปอยู่วัดศรีนวล อำเภอเมืองขอนแก่น หลัก หลักหนึ่ง เป็นแบบแท่งหินมีขนาดหนา ๕๐ ซม. กว้าง ๖๐ ซม. สูง .๗๕ . มีจารึกอยู่ด้วย ฐานเสมาแกะเป็นรูปกลีบบัว ส่วนอีกหลักหนึ่งเป็นแบบแผ่นหินไม่มีจารึก มีขนาดหนา ๒๕ ซม. กว้าง ๗๕ ซม. สูง .๗๐ . ส่วนหลักอื่น ได้ถูกนำไปไว้ที่อำเภอภูเวียง อำเภอน้ำพอง อำเภอบ้านไผ่
ในเขตวัดป่าพระนอน อาณาบริเวณเดียวกัน อยู่ทางตะวันตกของเมืองราวครึ่งกิโลเมตร บริเวณวัดเป็นที่ดอนสูง มีพระนอนหินสีน้ำตาลขนาดยาว .๒๖ . องค์หนึ่ง หันพระเศียรไปทางใต้ (สังเกตดูคงจะเป็นพระยืนอุ้มบาตร ภายหลังล้มลง) ลักษณะเป็นศิลปะแบบทวาราวดี ฝีมือช่างพื้นเมือง การวางพระหัตถ์แนบพระวรกาย มีลักษณะเช่นเดียวกับพระนอนที่พบในเมืองเสมา ในเขตอำเภอสูง-เนิน นครราชสีมา นอกนั้นพบชิ้นส่วนของพระแบบลพบุรี หรือแบบขอม สร้างด้วยหินทรายสีแดงในบริเวณวัดด้วย
เมืองโบราณแห่งนี้ กรมศิลปากรกำลังทำการขุดค้น ได้พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณฝังอยู่อย่างเป็นระเบียบ มีโบราณวัตถุหลายอย่างฝังรวมอยู่ด้วย สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่มีคนอยู่อาศัยมาหลายยุคหลายสมัย ทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวาราวดี ตลอดจนสมัยขอมด้วย กรมศิลปากรกำลังดำเนินการเพื่อจัดตั้งให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติขึ้นแล้ว
บริเวณยอดเขาภูเวียง ระหว่างเขตอำเภอชุมแพ และอำเภอภูเวียง บนเทือกเขาภูเวียง ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปวงกลม โอบล้อมหมู่บ้านถึง ตำบล ไว้ภายในนั้น มีพระพุทธรูปแบบทวาราวดี และที่สำคัญคือพระนอนสลักอยู่บนหน้าผาบนยอดเขาลูกนี้ มีขนาดยาว .๗๕ . หันพระเศียรไปทางตะวันตกและหันพระพักตร์ไปทางใต้ ช่วงตอนพระเศียรถึงหน้าอกสลักในลักษณะนูนสูง ส่วนบริเวณต่ำจากบั้นเอวลงมาสลักนูนต่ำ  ลักษณะพระพักตร์เป็นศิลปะแบบทวาราวดีในท้องถิ่น คล้าย   กันกับพระพุทธรูปแบบทวาราวดีที่พบในเขตชัยภูมิหลายองค์   ลักษณะการนอนนั้นละม้ายทางพระนอนเชิงภู  ที่ภูปอ  จังหวัดกาฬสินธุ์มาก   มีรอยจารึกบนแผ่นผา   ถัดจากพระเศียรไปเล็กน้อย  ใต้แผ่นผาที่สลักพระนอนมีถ้ำเพิงผา แห่ง อยู่เยื้องมาทางตะวันออกแห่งหนึ่งพอเป็นที่พักพิงได้ เข้าใจว่าแต่ก่อนคงมีพระภิกษุขึ้นไปจำศีล
การพบพระนอนแบบทวาราวดีที่ภูเวียงนี้ทำให้ได้เห็นคติการสร้างสลักพระนอนบนแผ่นผาในภาคอีสานอย่างชัดเจนว่าเป็นคติที่พบในบริเวณลุ่มน้ำชี ซึ่งมีการนับถือพระพุทธศาสนาติดต่อกันมาแต่เดิม โดยปราศจากการเจือปนของวัฒนธรรมขอม
เสมาหินที่เมืองชัยวาน เขตอำเภอมัญจาคีรี พบกลุ่มเสมาหินบริเวณเมืองร้างสมัยทวาราวดีที่มีชื่อว่าเมืองชัยวาน เสมาเหล่านี้ปักกระจายกันอยู่ในบริเวณเมืองเป็นจุด เอาตำแหน่งทิศทางแน่นอนไม่ได้ ลักษณะเสมาเป็นแบบแผ่นหิน บางแห่งปักเป็นคู่ ในเขตเมืองนี้ยังมีแผ่นหินขนาดใหญ่แผ่นหนึ่ง มีการสลักเป็นรูปได้มีขอบเป็นหลัก ลวดลายบนแผ่นหินเป็นแบบทวาราวดี และอีกแผ่นหนึ่งได้ถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ในศาลามีลวดลายกนก และก้านขดอยู่เหนือฐาน
เสมาหิน ในภาคอีสานจัดได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่มีอายุตั้งแต่สมัยลพบุรีหรือสมัยขอมขึ้นไปเสมาหินเป็นโบราณวัตถุสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าดินแดนภาคอีสานเคยมีวัฒน-ธรรมเก่าแก่เป็นของตนเองมาก่อน
ความเป็นมาของแท่งหินหรือเสาหินแต่เดิมคงเป็นเรื่องของหินตั้ง ซึ่งเป็นประเพณีและลัทธิเนื่องในการนับถือบรรพบุรุษ อันเป็นระบบความเชื่อที่มีอยู่ทั่วไปของประชาชนในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์
ต่อมาเสมาหินกลายเป็นของเนื่องในพุทธศาสนา ในสมัยแรกชาวอีสานไม่ใคร่นิยมสร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้นบูชา ส่วนมากจะปักลงเสมาหินรอบ เนินดิน หรือปักเสมาหินให้ทำหน้าที่เป็นหลักเขตของบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ใบเสมาของโบสถ์ เป็นต้น

เมืองโบราณขนาดใหญ่ที่สุดรองจากนครปฐมโบราณ
จากภาพถ่ายทางอากาศพบเมืองโบราณหลายเมือง อยู่ใกล้กับลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาหนึ่งของลำน้ำชี เมืองที่ควรกล่าวถึงคือเมืองโบราณที่วัดศรีเมืองแอม ในเขตอำเภอน้ำพอง ตัวเมืองตั้งอยู่เหนือลำน้ำพองขึ้นมา กม. ตำแหน่งในทางภูมิศาสตร์ อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๖ํ ๔๙´ตะวันออก ลักษณะเมืองเป็นรูปเหลี่ยมมน ที่น่าสนใจอย่างมากก็คือ เมืองนี้มีขนาด ,๙๐๐ x ,๐๐๐ . ซึ่งเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสานที่ได้พบเห็นมาในประเทศไทยเท่าที่เห็นเป็นรองอยู่ก็เฉพาะเมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ) เท่านั้น ภายในหมู่บ้านตั้งอยู่คือบ้านดงเมืองแอม และบ้านโนนขี้ผึ้งทางตะวันตก บ้านดงเฮียงทางด้านตะวันออกและมีวัดศรีเมืองแอมอยู่บริเวณกลางเมือง เมืองแอมนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มตอนเหนือตัวเมืองขึ้นไปเป็นที่ดอนสูงเป็นที่ลุ่มเล็กน้อย มีลำน้ำอีกสายหนึ่งซึ่งแยกจากลำน้ำห้วยเสือเต้นในบริเวณตัวเมืองทางเหนือ ผ่านคูเมืองด้านตะวันออกไปเรียกว่าลำน้ำห้วยคำม่วง
ภายในเมืองทางด้านตะวันตกมีร่องรอยของคันดินที่วกจากคูเมืองด้านตะวันตกออกมาบรรจบกันเป็นรูปกลมรี ทำให้เมืองแอมกลายเป็นเมืองมี เมืองซ้อนกันอยู่ ลักษณะเช่นนี้เป็นธรรมดาของเมืองโบราณในอีสาน คันดินรูปกลมรีภายในตัวเมืองอาจจะเป็นเมืองเดิม ส่วนตัวเมืองใหญ่อาจจะมาขยายในตอนหลังหรือไม่ก็เป็นเมืองรุ่นเดียวกัน  แต่จัดให้มีคูน้ำและคันดินรูปกลมรีภายในเพื่อการ    ชลประทานชักน้ำเข้าใช้ในเมือง จากภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นว่าเมืองแอม อาศัยน้ำจากลำห้วยเสือเต้นที่ไหลจากที่สูงทางเหนือของตัวเมือง เข้ามาใช้ในคูเมืองและมีคันดินตัดเป็นช่อง ระหว่าง     คูเมืองกับคันดินที่แล่นขนาน แสดงให้เห็นว่าเป็นอ่างเก็บน้ำ เมืองแอมนี้ยังไม่ได้มีการสำรวจกัน แต่ลักษณะของเมืองควรมีอายุในสมัยทวาราวดีลงมา
ห่างจากเมืองแอมลงไปทางใต้เพียง ๔๐๐ เมตร มีเมืองโบราณรูปหัวเหลี่ยมยาวรีตั้งขนานไปกับลำห้วยเสือเต้นที่ไหลผ่านตัวเมืองแอมลงมา มีขนาด ,๓๐๐ x ๖๐๐ เมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๖ํ ๔๘´ เหนือเส้นแวงที่ ๑๐๒ํ ๔๗´ ตะวันออก ตอนส่วนยอดของเมืองนี้มีหมู่บ้านคำท่าโพตั้งอยู่ ห่างจากเมืองนี้ไปทางตะวันตกราว ๘๐๐ เมตร มีวัดโนนดงมัน และหมู่บ้านโนนดงมัน จากลักษณะผังเมืองที่เป็นรูปเหลี่ยมมีระเบียบแสดงให้เห็นว่า ควรเป็นเมืองในสมัยหลังลงมาอย่างน้อยก็คงมีอายุอยู่ในราวสมัยลพบุรี ที่น่าสนใจสำหรับเมืองนี้ก็คือเมืองที่หมู่บ้านค้อท่าโพมีผังเมืองเป็นแบบเดียวกันกับเมืองกำแพงเพชร คือเป็นรูปสี่เหลี่ยมรีมีโงนไปตามลำน้ำเช่นกัน ความคล้ายคลึงกันของลักษณะผังเมืองทั้งสองควรได้มีการศึกษาเปรียบเทียบให้ทราบถึงความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองในภาคกลางกับเมืองในอีสานสมัยโบราณเป็นอย่างยิ่ง
ต่ำจากเมืองแอมลงไปตามลำน้ำพอง ซึ่งหักวกลงใต้ที่บ้านโคกสูง ทางด้านตะวันออกของลำน้ำใกล้กับบ้านท่าเกษมและบ้านจำปา ตรวจพบเมืองโบราณรูปกลมจากภาพถ่ายทางอากาศเมืองหนึ่ง มีขนาด ๗๐๐ x ๘๐๐ เมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ ๑๖ํ ๓๗´ ๓๐´´ เหนือและเส้นแวงที่ ๑๐๒ํ ๕๓´ ตะวันออก ลักษณะเป็นเมืองสองชั้น เช่นเมืองโบราณส่วนมากในอีสาน คือมีวงกลมอยู่ภายในวงกลมชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง มีคูน้ำกว้างมาก ตัวเมืองตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มต่ำ อันเป็นบริเวณที่ลำน้ำพองคดเคี้ยวเปลี่ยนทางเดิน มีลำน้ำด้านที่เรียกว่า Ox bow Lake มากมาย คูเมืองด้านตะวันออกกว้าง และอยู่ติดกับที่ลุ่มชาวบ้านเรียกว่า หนองงู และห่างจากตัวเมืองลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว ,๕๐๐ เมตร มีบึงน้ำกว้างใหญ่ ชื่อหนองแม่ชัด หนองนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของลำน้ำพองอย่างไม่ต้องสงสัย สิ่งที่น่าสนใจก็คือ จากตัวเมืองหนองงู มีร่องรอยคันดินออกไปติดต่อกับบริเวณที่เป็นชุมชนทั้งโบราณและปัจจุบัน เช่นมีคันดินออกจากตัวเมืองไปทางตะวันออกเฉียงเหนือไปยังหมู่บ้านทรายมูล และมีคันดินอีกสายหนึ่งแยกออกจากคันดินดังกล่าว วกลงไปยังหมู่บ้านหนองบัวน้อยและหนองแม่ชัด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากตัวเมืองไปในรัศมี กม. มีร่องรอยของชุมชนโบราณและสระน้ำตลอดจนคันดินหลายแห่ง เมืองโบราณที่หนองงูดังกล่าวนี้ ยังไม่ได้มีการสำรวจหาโบราณวัตถุเพื่อกำหนดอายุ แต่จากรูปลักษณะก็คงจะเป็นเมืองแต่สมัยทวาราวดีลงมา
พระธาตุบ้านขาม อยู่บ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง ประวัติการสร้างเจดีย์องค์นี้มีว่า เดิมมีตอมะขามใหญ่อยู่ตอหนึ่งซึ่งได้ตายไปนานแล้ว กลับงอกงามขึ้นอีก คนเจ็บไข้ได้ป่วยเมื่อกินใบซึ่งงอกขึ้นใหม่นี้จะหายจากโรคร้ายทั้งปวง จึงมีประชาชนจากทุกสารทิศมาตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชนหนาแน่น หากผู้ใดไปทำมิดีมิร้ายเชิงดูถูกไม่เคารพสักการะตอมะขาม จะมีอันเป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วน ชาวเมืองจึงพร้อมใจกันก่อพระธาตุหรือเจดีย์ครอบตอมะขามนี้ไว้ โดยสลักบรรจุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บทเข้าไว้บนตอมะขามนั้นเรียกว่า พระเจ้า พระองค์ เหตุนี้จึงเรียกชื่อว่า พระธาตุบ้านขามมาแต่โบราณ ได้มีผู้บูรณะพระธาตุองค์นี้หลายครั้ง ทำให้รูปทรงเดิมเปลี่ยนไป ห่างจากเจดีย์นี้ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๕ เส้น มีซากโบราณสถานซึ่งเข้าใจว่าเป็นวังหรือตำหนัก ประชาชนมาชุมนุมนมัสการพระธาตุองค์นี้ในวันเพ็ญเดือน ทุกปี
ภายในโบถส์ใกล้พระธาตุองค์นี้มีพระประธานก่อด้วยอิฐโบกปูนขาวเป็นศิลปะแบบล้าน-ช้างโบราณมีพุทธลักษณะงดงาม สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นภายหลังในยุคล้านช้างเวียงจันทร์
ที่บ้านกระนวนซึ่งไม่ห่างไกลจากบ้านขามนัก มีพระพุทธรูปโบราณศิลปะแบบล้านช้างเป็นพระประธานในโบสถ์เก่าแก่ ประชาชนในอาณาบริเวณใกล้เคียงให้ความเคารพบูชามาก


  ศรีศักร  วัลลิโภดม โบราณวัตถุสถานในลุ่มแม่น้ำชี มรดกอีสาน วค.มหาสารคาม
  แต่เดิมมาไม่เคยมีชื่อว่าพระธาตุหรือเจดีย์ขามแก่น ขุนบุญบาลประดิษฐ์ อดีตกำนันตำบลชุมแพ และสมาชิกสภาจังหวัดขอนแก่นชุดแรก ยืนยันว่า นายเจียม รัตนเวฬุ สจ.อำเภอน้ำพอง เป็นหมอลำมีจินตนาการโดยปรารภขึ้นกับบรรดาเพื่อน สจ. รุ่นแรกด้วยกันว่า ชื่อจังหวัดขอนแก่นคงจะเพี้ยนมาจากคำว่าขามแก่น หรือใช้ชื่อขามแก่นเป็นมงคลนามในการตั้งชื่อเมืองขอนแก่น แต่มิได้มีผู้ใดเห็นด้วย เพราะไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากวัดก็เรียกชื่อมาแต่เดิมว่า วัดบ้านขามตั้งอยู่หมู่บ้านขาม ตำบลบ้านขาม (เป็นชื่อทางราชการมาแต่เดิมไม่มีคำว่าต่อท้ายเลย) ต่อมาภายหลังเมื่อมีการบูรณะพระธาตุองค์นี้ในสมัย นายเลื่อน กฤษณามระ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด จึงมีการรณรงค์เรียกชื่อว่าพระธาตุขามแก่น และเชื่อว่าเป็นที่มาของชื่อจังหวัดขอนแก่น คำว่า ขอนแก่น เป็นชื่อบ้านทั่วไปในภาคอีสานซึ่งมีอยู่แทบทุกจังหวัด ในประวัติจังหวัดขอนแก่น ของกรมศิลปากรแต่เดิมก็มีเพียงว่า เจ้าพระยานครราชสีมา มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ เมื่อ .. ๒๓๔๐ โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น โดยมิได้มีการผิดเพี้ยนเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น